วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Thesis


ชื่อวิทยานิพนธ์       ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
ผู้วิจัย       นายปภังกร  หัสดีธรรม ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อาจารย์ที่ปรึกษา 1) รศ.ดร. วิไล  ตั้งจิตสมคิด  2) รศ.ดร.สุรศักดิ์ หลาบมาลา ปีการศึกษา 2553 จำนวน  245  หน้า  คำสำคัญ ความสัมพันธ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

บทคัดย่อ

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ  ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนใน สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 360 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 80 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าอำนาจจำแนกค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม  ผลการวิจัยพบว่า
            1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในอันดับสูงสุดรองลงมาคือด้านการกระตุ้นทางปัญญา 2) การปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านด้านการใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนอยู่ในอันดับสูงสุดรองลงมาคือด้านการเรียนรู้อย่างมีความสุข  3) ความคิดเห็นของครูด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพในภาพรวม จำแนกตามเพศ  อายุ ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา สุขศึกษา                                                              กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (ภาคเรียนที่ 1)                                                                        รหัสวิชา พ33101
เวลา  20 ชั่วโมง                                                                                                  จำนวน 0.5 หน่วยกิต

                 ศึกษา วิเคราะห์ และอธิบายกระบวนการเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ระบบสืบพันธุ์ วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การวางแผนและการประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของชุมชนการป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม สามารถวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รู้วิธีจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีแก้ปัญหาและการวางแผนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของส่วนรวม และตัวเอง โดยมีการสังเกต อธิบาย นำเสนอ วิเคราะห์ สืบค้นโดยเน้นการปฏิบัติและกระบวนการกลุ่มเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าสามารถนำไปใช้ในการรักษาสุขภาพตนเองและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน

 ตัวชี้วัด
1.1 6/1
2.1 6/1
4.1 6/1, ม6/2

โครงสร้างรายวิชา สุขศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ภาคเรียนที่ 1)


ลำดับที่

ชื่อหน่วยการเรียน

มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

สาระสำคัญ

เวลา

(ชั่วโมง)

1

ร่างกายของเราและสร้างกายให้เกิดสุข

1.1 6/1



ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ระบบประสาท  ระบบสืบพันธ์  ระบบต่อมไร้ท่อ การวางแผนดูแลสุขภาพ

4

2

สัมพันธภาพสร้างมิตร

2.1 6/1



วัยรุ่นกับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ  วัยรุ่นกับการคบเพื่อนต่างเพศ   ความรู้ในการวางแผนชีวิตและการสร้างครอบครัว

5

3

ระวังกายระวังใจ

2.1 6/1

เพศสัมพันธ์กับความปลอดภัย

2

4

ราบรื่นสุขสบาย

4.1 6/1



ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การประเมินสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การสร้างศักยภาพของตนเองในการจัดการกับอารมณ์และความเครียด บทบาทในการเข้าร่วมการออกกำลังกายและนันทนาการ

7
 
คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา พลศึกษา                                                              กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (ภาคเรียนที่ 1)                                                                        รหัสวิชา พ30205
เวลา  20 ชั่วโมง                                                                                                  จำนวน 0.5 หน่วยกิต
                ศึกษา  ฝึกทักษะ / กระบวนการในสาระต่อไปนี้
                วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬาประเภทบุคคล โดยใช้กีฬาลีลาศเป็นกิจกรรม  กีฬาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและสมรรถภาพทางกายของตนเอง   ประยุกต์หลักการเล่นกีฬาลีลาศกับประโยชน์ที่ได้รับจากกฎกติกามารยาทการเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน กิจกรรมนันทนาการเพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อนโดยใช้กิจกรรมการเต้นรำแสดงออกทางกายและทางอารมณ์
                โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์  ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการปฏิบัติจริง  คิดวิเคราะห์  สรุปผลงาน  เพื่อพัฒนาทักษะทางร่างกาย  กระบวนการในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ  การทำงานร่วมกันและนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์  รวมทั้งเห็นคุณค่า   และตระหนัก  มีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ  มีความรับผิดชอบ    มีระเบียบวินัย
                การวัดผลและประเมินผลใช้วิธีการที่หลากหลาย  ตามสภาพความเป็นจริง  สอดคล้องกับสาระ  ทักษะ  กระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการวัด
หน่วยการเรียนรู้  สาระการเรียนรู้  และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รายวิชาพลศึกษา  รหัสวิชา  30205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่  1

หน่วยการ

เรียนรู้ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

(หลัก)

สาระการเรียนรู้

(ย่อย)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1

การเคลื่อนไหวของร่างกายตามหลักวิทยาศาสตร์

สาระที่ 3         การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล

มาตรฐาน พ 3.1

1.1  กลไกการทำงานของข้อต่อ

1. บอกส่วนประกอบและชนิดของข้อต่อได้

2. อธิบายลักษณะการทำงานการเคลื่อนไหวของระบบกระดูกข้อต่อได้



1.2  กลไกการทำงานของกล้ามเนื้อ

1. บอกชนิดของกล้ามเนื้อได้

2. อธิบายลักษณะการทำงานการเคลื่อนไหวของระบบกล้ามเนื้อได้







1.3  กลไกการทำงานของระบบประสาท

1. บอกหน้าที่ของระบบประสาทได้

2. อธิบายการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อ ข้อต่อและระบบประสาท


หน่วยการ

เรียนรู้ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

(หลัก)

สาระการเรียนรู้

(ย่อย)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง







2.4  การฝึกลีลาศ  ในจังหวะ ช่า ช่า ช่า (Cha  Cha  CHa)



1.  อธิบายลักษณะการเคลื่อนไหวท่าเต้นรำในจังหวะช่า ช่า ช่า ได้

2.  รู้และเข้าใจวิธีการเดินเต้นรำจังหวะ Cha Cha Cha อย่างต่อเนื่องจนครบทุก ลวดลายได้
3.  ปฏิบัติทักษะของการเต้นรำ

จังหวะ Cha Cha Cha ได้
2

การเล่นกีฬา

ประเภทบุคคล

สาระที่ 3         การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล

มาตรฐาน พ 3.2

2.5  การฝึกลีลาศ  ในจังหวะ แทงโก้ (Tango)



1.   มีความรู้ความเข้าใจในจังหวะ แทงโก้

2.   อธิบายลักษณะการเต้น ท่าเต้น รูปแบบต่างได้

3.   ปฏิบัติทักษะการเต้นลีลาศลวดลาย  ได้  4 ลวดลาย