วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Thesis


ชื่อวิทยานิพนธ์       ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
ผู้วิจัย       นายปภังกร  หัสดีธรรม ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อาจารย์ที่ปรึกษา 1) รศ.ดร. วิไล  ตั้งจิตสมคิด  2) รศ.ดร.สุรศักดิ์ หลาบมาลา ปีการศึกษา 2553 จำนวน  245  หน้า  คำสำคัญ ความสัมพันธ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

บทคัดย่อ

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ  ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนใน สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 360 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 80 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าอำนาจจำแนกค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม  ผลการวิจัยพบว่า
            1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในอันดับสูงสุดรองลงมาคือด้านการกระตุ้นทางปัญญา 2) การปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านด้านการใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนอยู่ในอันดับสูงสุดรองลงมาคือด้านการเรียนรู้อย่างมีความสุข  3) ความคิดเห็นของครูด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพในภาพรวม จำแนกตามเพศ  อายุ ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น